CSS    
    àÁ¹Ù CSS
หน้าแรก เกี่ยวกับเรา บริการของเรา กระดานถาม-ตอบ แผนที่ GIS สมัครงาน ติดต่อเรา
   
   
menu
วันที่
วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2567
 
บริษัท ไทย คอนซัลแตนท์ แอนด์พับบลิค รีเลชั่น
 
 
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident fund)
 
 
          คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น เงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสะสม" และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสมทบ" นั่นคือ นอกจากลูกจ้างจะออมแล้ว นายจ้างยังช่วยลูกจ้างออกอีกแรงหนึ่งด้วย จึงอาจกว่าได้ว่าการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง จึงช่วยสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้างนานๆ

    

วัตถุประสงค์


       1. เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและหลักประกันให้แก่พนักงานและครอบครัว กรณีลาออก เกษียณอายุ ออกจากกองทุนหรือเสียชีวิต

       2. เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรและพนักงาน

       3. เพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน

       4. ส่งเสริมการออม เพิ่มประโยชน์ในอนาคตของพนักงาน

     คุณสมบัติของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

1. ผู้ที่จะเป็นสมาชิกของกองทุนจะต้องเป็นพนักงานประจำ และผ่านการทดลองงานแล้ว

2. สมาชิกท่านใดที่ขอลาออกจากกองทุน โดยที่มิได้ลาออกจากงานจะไม่สามารถกลับเข้าเป็นสมาชิกกองทุนได้อีก

3. พนักงานจะต้องทำการนำตรวจสอบสารเสพติดที่ได้รับการยืนยัน โรงพยาบาลที่มีการรับรองจากสถาบันภาครัฐ มายื่นให้ทางคณะกรรมการกองทุนฯ ก่อนเข้าเป็นสามาชิกกองทุนฯ

 หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน

อายุงาน อัตราเงินสมทบ (ร้อยละของค่าจ้าง)
น้อยกว่า 9 ปี และอัตราเงินสะสมร้อยละ 2 ของค่าจ้าง 2
น้อยกว่า 9 ปี และอัตราเงินสะสมร้อยละ 5 ของค่าจ้าง 5
น้อยกว่า 9 ปี และอัตราเงินสะสมร้อยละ 7 ของค่าจ้าง 7
ครบ 9 ปีขึ้นไป และเลือกอัตราเงินสะสมร้อยละ 2 ของค่าจ้าง 3
ครบ 9 ปีขึ้นไป และเลือกอัตราเงินสะสมร้อยละ 5 ของค่าจ้าง 7
ครบ 9 ปีขึ้นไป และเลือกอัตราเงินสะสมร้อยละ 7 ของค่าจ้าง 10
หลักเกณฑ์การพ้นสมาชิกภาพ

1. ครบเกษียณอายุทำงานกับนายจ้าง

2. เกษียณก่อนครบอายุ (Early Retire)

3. ไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามรถ หรือ วิกลจริต โดยที่ได้รับคำรับรองของแพทย์ที่นายจ้างเลือก

4. เสียชีวิต

5. ทุพลภาพ โดยไม่อาจปฏิบัติงานกับนายจ้างได้อีก โดยที่ได้รับคำรับรองของแพทย์ที่นายจ้างเลือก

6. สิ้นสุดสภาพกับนายจ้าง เนื่องจากนายจ้างเลิกจ้างตามกฏหมาย โดยไม่มีความผิด

7. นายจ้างเลิกกิจการ

8. นายจ้างยกเลิกสวัสดิการ

9. กองทุนเป็นอันยกเลิก

10. ลาออกจากกองทุน โดยไม่ได้ลาออกจากงาน

11. ลาออกจากงาน

 หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสมทบของนายจ้างรวมทั้งผลประโยชน์ของเงินสมทบ

อายุงาน เงินสมมบพร้อมทั้งผลประโยชน์เงินสมทบ (%)
น้อยกว่า 2 ปี 0
ครบ 2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี 50
ครบ 3 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี 75
ครบ 7 ปีขึ้นไป 100

 เงื่อนไขเพิ่มเติม

กองทุนจะไม่จ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ ด้วยกรณีดังต่อไปนี้
  1. การทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  2. ประมาทเลินล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  4. ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งองนายจ้างอันชอบด้วยกฏหมายและเป็นธรรม ในเรื่องที่ร้ายแรง
เงินสมทบทุนและผลประโยชน์ของเงินสมทบ ส่วนที่ไม่ได้จ่ายให้แก่สมาชิก

       เงินสมทบ ผลประโยชน์ของเงินสมทบ และเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่ได้จ่ายให้แก่สมาชิกให้ตกเป็นของกองทุนเพื่อเฉลี่ยให้แก่สมาชิกทุกคนที่ยังคงสมาชิกภาพอยู่ในกองทุนของบริษัทในอัตราเท่าๆกัน และแสดงไว้ในส่วนของผลประโยชน์เงินสะสมและผลประโยชน์เงินสมทบ


◉ เข้าสู่ระบบ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ◉